Content

เตือน! เลือกใช้ “ทิชชู่เปียก” ผิดประเภท ทำให้ผิวแห้ง ระคายเคือง ฆ่าเชื้อไม่ได้

ในทุกๆวัน เรายังคงทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ที่หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยสิ้นเชิงได้ยาก เชื้อโรคนั้นอยู่ได้นานหลายชั่วโมง หรืออาจเป็นหลายวัน ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของพื้นผิว อุณหภูมิ และความชื้นที่แตกต่างกัน การทำความสะอาดสิ่งของที่เราใช้อยู่เป็นประจำจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการมีเชื้อโรคอยู่เสมอ ดังนั้น การใช้ “ทิชชู่เปียก” หรือ “แผ่นเช็ดเปียก” จึงกลายเป็นสิ่งที่หลายๆคนคุ้นเคย และมักมีไว้ใกล้ตัวเสมอ เพื่อดูแลความสะอาดเป็นประจำ แต่อีกสิ่งที่หลายคนอาจมองข้ามหรือเข้าใจผิดคือ การเลือกใช้งานที่ผิดประเภท อาจทำให้การเช็ดทำความสะอาดไม่ได้รับการฆ่าเชื้อตามที่เข้าใจ หรืออาจทำให้ผิวแห้ง แตกลอก เพราะสารฆ่าเชื้อที่รุนแรงต่อผิวหนัง

ทิชชู่เปียกทั่วไป (สำหรับผิวหนัง) vs. แผ่นเช็ดเปียกทำความสะอาดฆ่าเชื้อ (สำหรับเช็ดวัสดุ)

ประเภทเช็ดใช้สำหรับผิวหนัง ผ้าเปียกหรือทิชชู่เปียกเช็ดมือ โดยมากมักจะระบุว่า “ไม่มีการใช้แอลกอฮอล์” ซึ่งมีคุณสมบัติฆ่าเชื้อโรค แต่ต้องอ่อนโยนต่อผิว ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวได้ง่าย ส่วนใหญ่มีส่วนประกอบของสารลดแรงตึงผิว สารฆ่าเชื้อโรค (กลุ่ม Antiseptics หรือสารเคมีที่ใช้ทำลายหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่อยู่ภายนอกร่างกายสิ่งมีชีวิต ไม่เป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อ) สารที่ช่วยบำรุงผิว ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อโรคและลดการเกิดแบคทีเรียได้ มาในรูปแบบซองพร้อมบรรจุภัณฑ์ที่สามารถ เปิด-ปิด ใช้หลายครั้งได้ สะดวกต่อการพกพาใช้งาน การเลือกใช้ทิชชู่เปียกแบบไม่มีน้ำหอม จะช่วยลดโอกาสการแพ้หรือระคายเคืองได้ในระดับหนึ่ง

โดยส่วนใหญ่แล้ว ทิชชู่เปียกสำหรับเช็ดมือจะไม่แสดงหน้าฉลากได้ว่าสามารถกำจัดเชื้อไวรัส เนื่องด้วยชนิดและปริมาณสัดส่วนของสารทำความสะอาดที่ใช้เป็นส่วนผสมนั้น ยังคงต้องอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมกับการเช็ดทำความสะอาดผิวหนังเป็นประจำ

ประเภทใช้สำหรับเช็ดวัสดุ – พื้นผิวทั่วไป แผ่นเช็ดเปียกทำความสะอาดฆ่าเชื้อ ที่มีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ – สารฆ่าเชื้อตามที่ WHO หรือกระทรวงสาธารณสุขแนะนำ ที่จะสามารถฆ่าหรือกำจัดเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรียได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทิชชู่เปียกประเภทนี้ ไม่แนะนำให้ใช้สำหรับเช็ดผิวกายหรือผิวหน้า เพราะโดยส่วนมาก มีส่วนประกอบของ Isopropyl Alcohol ซึ่งอาจทำให้เกิดการระคายเคือง โดยเฉพาะผู้ที่มีผิวเปราะบางแพ้ง่าย

ความเข้มข้นและระยะเวลาสัมผัสของสารฆ่าเชื้อไวรัสโคโรนาบนพื้นผิว
ความเข้มข้นและระยะเวลาสัมผัสของสารฆ่าเชื้อไวรัสโคโรนาบนพื้นผิว
Source: https://www.fda.moph.go.th/sites/food/SitePages/View.aspx?T=FoodNews&TF=1&IDdata=138

นอกจากสารฆ่าเชื้อที่เลือกใช้แล้ว ความเข้มข้นและเวลาที่สารฆ่าเชื้อสัมผัสกับวัตถุยังส่งผลต่อประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคบนพื้นผิวอย่างยิ่ง ดังนั้นหลังทําความสะอาดแล้ว จึงต้องใช้สารเคมีที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ เช่น คลอรีนหรือแอลกอฮอล์เพื่อฆ่าจุลชีพที่หลงเหลืออยู่ให้หมด

Cleaning and disinfection of environmental surfaces in the context of COVID-19; Interim guidance, 15 May 2020

ดังนั้น แผ่นเช็ดเปียกทำความสะอาดฆ่าเชื้อ จึงเป็นทางเลือกที่มอบความสะดวกในการใช้งานอย่างเหมาะสมกับการเช็ดฆ่าเชื้อประจำวันสำหรับวัสดุต่างๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ เป็นที่นิยมใช้ในกลุ่มสถานพยาบาลที่มีการฝึกอบรมพนักงานทําความสะอาดให้เป็นไปตามนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติงาน (SOP) ของสถานพยาบาลและแนวทางปฏิบัติของประเทศ

ทำไม เราจึงไม่ควรใช้ “แผ่นเช็ดเปียกฆ่าเชื้อ” มาเช็ดผิวกาย

คำถามที่มักเกิดขึ้นต่อมาคือ เหตุใดการที่แผ่นเช็ดเปียกทำความสะอาดฆ่าเชื้อ สำหรับเช็ดวัสดุ – พื้นผิวทั่วไป ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์จึงทำให้ไม่เหมาะสมกับการเช็ดทำความสะอาดผิวหนัง ทั้งๆที่ก็มีการรณรงค์ให้ใช้แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อทำความสะอาดมือเป็นประจำในสถานที่สาธารณะต่างๆ นั่นก็เพราะประเภทของแอลกอฮอล์ที่ใช้เป็นส่วนประกอบหลักนั้นแตกต่างกัน Isopropyl Alcohol มักถูกใช้ในแผ่นเช็ดทำความสะอาดฆ่าเชื้อ และ Ethyl Alcohol มักใช้สำหรับแอลกอฮอล์ล้างมือที่ได้มาตรฐาน

ทำความเข้าใจ Isopropyl Alcohol (IPA) vs Ethyl Alcohol ต่างกันอย่างไร

แอลกอฮอล์อย่าง Isopropanol (Isopropyl Alcohol) และ Ethanol (Ethyl Alcohol) ถูกนำมาใช้เป็น disinfectant อย่างแพร่หลาย ทั้ง 2 ตัวต่างกันที่การออกฤทธิ์ต่อ แบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา – เชื้อวัณโรค (TB)

ที่มา: สารต้านเชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข. กลุ่มพัฒนาระบบวัตถุอันตราย สำนักควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข, มิถุนายน 2558
แหล่งข้อมูล: แอลกอฮอล์เพื่อการสาธารณสุข ALCOHOL FOR PUBLIC HEALTH, องค์การสุรา กรมสรรพสามิตร https://www.liquor.or.th/
แหล่งข้อมูล: แอลกอฮอล์เพื่อการสาธารณสุข ALCOHOL FOR PUBLIC HEALTH, องค์การสุรา กรมสรรพสามิตร https://www.liquor.or.th/

เพราะ แผ่นเช็ดเปียกทำความสะอาดฆ่าเชื้อ นั้นมีส่วนประกอบหลักที่ มีส่วนผสมของ Isopropyl Alcohol ที่อาจทำให้ผิวแห้ง แตกลอก เกิดพื่นแพ้ และระคายเคือง ถึงแม่ว่าเราอาจจะใช้มือเปล่านั้นสัมผัสเพื่อหยิบใช้เช็ดถูได้ แต่ก็จะรู้สึกได้เลยว่ามือนั้นแห้งมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด หากเราเทียบกับการล้างมือด้วย Ethyl Alcohol ที่ใช้ฆ่าเชื้อบนผิวหนัง จึงไม่แนะนำให้ใช้เช็ดทำความสะอาดผิวหนังของเรา แต่เหมาะกับการฆ่าเชื้อทำความสะอาดอุปกรณ์ – พื้นผิววัสดุทั่วไป

แนะนำการใช้แผ่นเช็ดทำความสะอาดอย่างพอเหมาะ เพื่อโลกของเรา

การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เช็ดทำความสะอาดฆ่าเชื้ออเนกประสงค์ เป็นวิธีที่ง่ายและให้ความมั่นใจในการทำความสะอาด ทั้งนี้ เนื่องจากทิชชู่เปียกมีส่วนผสมของพลาสติก ก็ควรเลือกใช้แต่พอดีใช้เท่าที่จำเป็น เพื่อไม่เป็นการสร้างขยะที่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม (อ่าน วิธีปกป้องบ้านของคุณจากไวรัสและยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดย Greenpeace) ถ้าเป็นไปได้และอยู่ในสถานที่ที่เอื้ออำนวย ควรเลือกใช้วิธีทำความสะอาดแบบธรรมดาอย่างการใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาด ร่วมกับน้ำยาฆ่าเชื้อที่ผสมตามอัตราส่วนที่แนะนำ จะช่วยให้ประหยัดกว่าและยังดีต่อสิ่งแวดล้อมของเรา

หากต้องการคำปรึกษาในการเลือกซื้อสินค้าแต่ละประเภทอย่างเหมาะสม สามารถแอดไลน์เข้ามาพูดคุยกับทีมของเราได้ที่ Line Official : @masswell

author-avatar

About Masswell Group

ร่วมสร้างมาตรฐานความสะอาดสำหรับธุรกิจมานานกว่า 30 ปี

Related Posts

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *